ชื่อสมุนไพร
มะค่าโมง
ชื่ออื่นๆ
มะค่าใหญ่ มะค่าโมง (ภาคกลาง) มะค่าหลวง มะค่าหัวคำ (ภาคเหนือ) เขง เบง (สุรินทร์) บิง (จันทบุรี) ปิ้น มะค่าโมง (นครราชสีมา) ฟันฤาษี แต้โหล่น
ชื่อวิทยาศาสตร์
Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib
ชื่อพ้อง
Afzelia cochinchinensis (Pierre) Leonard, A. siamica Craib, Pahudia cochinchinensis Pierre, P. xylocarpa Kurz
ชื่อวงศ์
Leguminosae-Caesalpiniaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบช่วงสั้นๆ สูงได้ถึง 30 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้าง เปลือกต้นสีเทาอ่อน หรือสีชมพูอมน้ำตาล ผิวต้นขรุขระ กิ่งอ่อนมีขนประปราย ต้นแก่มักมีปุ่มปม เนื้อไม้มีลวดลายสวยงามสีน้ำตาลอมเหลือง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายใบคู่ ออกเรียงสลับ ใบกว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 5-9 เซนติเมตร แกนกลางใบประกอบยาว 18-30 ซม. ก้านใบยาวประมาณ 2 ซม. ก้านใบย่อยยาว 0.3-0.5 ซม. ใบย่อยมี 3-5 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลมมีติ่งสั้นๆ โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนา เรียบเกลี้ยง ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ยาว 5-15 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่มสีเทา ใบประดับรูปไข่ ยาว 0.6-0.9 ซม. ใบประดับย่อยคล้ายใบประดับ ติดเหนือจุดกึ่งกลางก้านดอกเล็กน้อย ติดทน ก้านดอกยาว 0.7-1 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 1 เซนติเมตร ทุกส่วนมีขนคลุมบางๆ ดอกคล้ายดอกถั่ว กลีบดอกสีชมพู 1 กลีบ รูปร่างคล้ายช้อน แผ่เกือบกลม ยาว 7-9 มิลลิเมตร ส่วนฐานคอดเป็นก้าน มีก้านยาว 0.5-1.2 ซม. ปลายกลีบย่นเว้าตื้นๆ เกสรเพศผู้มี 10 อัน แยกกัน เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์มี 7 อัน ก้านเกสรยาวประมาณ 3 ซม. มีขนสั้นนุ่มที่โคน อับเรณูยาว 0.3-0.4 ซม. เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันมี 3 อัน รูปเส้นด้ายสั้นๆ เกสรเพศเมียมีขนที่รังไข่ รังไข่รูปขอบขนานแคบ ยาวประมาณ 0.7 ซม. ก้านรังไข่ยาวประมาณ 0.7 ซม. ก้านเกสรเพศเมีย ยาว 2-2.5 ซม. เกลี้ยง ขยายเล็กน้อยด้านปลาย ยอดเกสรขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงสีเขียวมี 4 กลีบ สีเขียวสด รูปขอบขนาน แต่ละกลีบเรียงซ้อนทับกันแบบตรงข้าม ยาว 1-1.2 ซม. มีขนสั้นนุ่ม ขอบกลีบบาง ฐานรองดอกยาว 0.8-1 ซม. มีขนสั้นนุ่มสีเทา ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน กว้าง 7-9 เซนติเมตร ยาว 12-20 เซนติเมตร หนา 0.6-1 เซนติเมตร ผิวเปลือกเรียบไม่มีหนาม เปลือกแข็งหนาเป็นเนื้อไม้ ปลายเป็นจงอยสั้นๆ ฝักแก่สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ พอแห้งแตกออกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดแข็ง มี 2-4 เมล็ด รูปรี ยาว 2.5-3 ซม. สีดำ ผิวมัน มีเนื้อหุ้มที่โคนเมล็ดสีเหลืองสด หุ้มเป็นรูปถ้วย ยาวประมาณ 1.5 ซม. พบตามป่าดิบแล้ง แนวเชื่อมต่อระหว่างป่าเต็งรังและป่าดิบแล้ง ตามริมลำธารในป่าเบญจพรรณชื้น ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ติดผลราวเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม จัดเป็นไม้เด่น 1 ใน 5 ที่พบในป่าเบญจพรรณ
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ลำต้นบริเวณที่เป็นปุ่ม รสเบื่อเมา เป็นยาถ่ายพยาธิ และรักษาโรคผิวหนัง หรือต้มเอาไอรมหัวริดสีดวงทวารทำให้แห้ง เปลือกต้น ผสมกับเปลือกต้นมะค่าแต้อย่างละครึ่งกำมือ ใช้เป็นยาประคบ แก้ฟกช้ำ ปวดบวม หรือผสมกับรากเจตพังคีอย่าละครึ่งกำมือ เป็นยาสมานแผล เปลือกต้นและราก ใช้รักษาโรคผิวหนัง เมล็ดอ่อน รับประทานสด หรือต้มให้สุก เมล็ดแก่ นำมาคั่ว และกะเทาะเปลือกออกแช่น้ำให้นิ่ม รับประทานได้ มีรสมันเปลือกให้น้ำฝาด ใช้ฟอกหนัง ลำต้น ใช้รักษาโรคผิวหนัง พยาธิ
วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
มะกอกป่า
มะกอกป่า หรือ นิยมเรียกว่า มะกอก (Hog plum) ถือเป็นผลไม้ป่าที่นิยมอย่างมากสำหรับเมนูที่ต้องการรสเปรี้ยว โดยเฉพาะส้มตำ ต้มยำ ยำหรือก้อยต่างๆ เพราะให้รสเปรี้ยวพอเหมาะ อีกทั้งมีรสหวาน กระตุ้นน้ำลาย และการยากอาหารได้อย่างดี
• วงศ์ : ANACARDIACEAE
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spondias pinnata Kurz.
• ชื่อสามัญ : Hog plum, Wild Mango
• ชื่อท้องถิ่น :
ภาคกลาง
– มะกอก
– มะกอกป่า
– มะกอกไทย
– กราไพ้ย ไพ้ย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ภาคเหนือ
– กูก กอกกุก (เชียงราย)
– ไพแซ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)
– กอกหมอง (ชาน)
ภาคอีสาน
– มะกอก/หมากกอก
ภาคใต้
– กอกเขา (นครศรีธรรมราช)
ที่มา : [1] อ้างถึงใน (Burkill, 1996; เต็ม 2523), [2]
ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
มะกอกป่า มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ และป่าดิบชื้น ที่ระดับประมาณ 50–500 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล [2]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
มะกอกป่าเป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ แตกกิ่งน้อย ทรงพุ่มมีลักษณะทรงกลม ทรงพุ่มหนาหลังการแตกใบใหม่ช่วงฤดูฝน ส่วนหน้าแล้งจะทิ้งใบจนเหลือแต่กิ่งก้าน ลำต้นมีลักษณะทรงกลม และตั้งตรง สูงประมาณ 15-25 เมตร หรือมากกว่า เปลือกลำต้นหนา มีสีเทาอมน้ำตาลหรือสีเทาอมดำ บางต้นอาจพบราสีขาวเจริญบนเปลือก เปลือกลำต้นอาจเรียบหรือแตกสะเก็ด ขึ้นอยู่กับอายุ ต้นที่อายุมากจะแตกสะเก็ดที่ผิวลำต้น เปลือกด้านในมีสีน้ำตาลอมชมพู ส่วนแก่นไม้เป็นไม้เนื้ออ่อน
ใบ
ใบมะกอก เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว แบบปลายใบคี่ มีก้านใบหลักออกเรียงเวียนสลับกัน ก้านใบหลักยาวประมาณ 5-25 เซนติเมตร มีใบย่อยที่เรียงตรงข้ามกัน 4-6 คู่ และใบย่อยเดี่ยวบริเวณปลายใบ 1 ใบ รวมเป็น 9-13 ใบ
ใบย่อยแต่ละใบมีรูปขอบขนาน ค่อนข้างหนา และหยาบ กว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร มีก้านใบสั้น ประมาณ 0.2-0.8 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขอบ และแผ่นใบเรียบ แต่ขอบใบจะเรียบไม่สม่ำเสมอกัน แผ่นใบมีเส้นกลางใบ และเส้นแขนงใบมองเห็นชัดเจน แผ่นใบอ่อนหรือยอดอ่อนมีสีแดงเข้ม สีส้ม สีเขียวอมส้ม จากนั้นเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อน และเขียวเข้มตามอายุ
ดอก
ดอกมะกอกออกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง เป็นดอกแยกเพศบนช่อดอกเดียวกัน ช่อดอกหลักแตกแขนงออกเป็นช่อย่อย บนช่อย่อยมีดอกขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกอ่อนมีลักษณะกลมสีเขียวสด เมื่อบานจะมีสีขาวอมครีม ฐานดกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ เป็นรูปถ้วย ส่วนกลีบดอกถัดมามี 5 กลีบ แต่ละกลีบมีรูปรี ปลายกลีบแหลม ตรงกลางมีเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย แต่แยกดอกกัน หรืออยู่ร่วมกันแต่เกสรอีกชนิดเป็นหมัน เกสรตัวเมียปลายแยกเป็น 4 แฉก
ทั้งนี้ มะกอกจะเริ่มออกดอกตั้งแต่ต้นฤดูฝน ประมาณเมษายน-มิถุนายน จากนั้น จะทยอยออกดอก และบานเรื่อยๆจนถึงฤดูหนาว แต่ส่วนมากจะพบออกดอก และติดผลมากในช่วงปลายฤดูหนาว
ผล
ผลมะกอกออกเป็นช่อ เป็นผลสด มีรูปไข่หรือกลมรี ขนาดผล 2.5-3.5 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร เปลือกผลบาง เป็นมัน ผลอ่อนมีสีเขียวสด ผลแก่หรือผลสุกมีสีเขียวอมเหลือง และมีจุดประสีน้ำตาลอมดำกระจายทั่ว ด้านในเป็นเนื้อผล มีลักษณะฉ่ำน้ำ มีความหนาของเนื้อผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร จากนั้นเป็นเมล็ด ทั้งนี้ ผลมะกอกจะเริ่มสุกให้เก็บมากในช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม
เมล็ด
เมล็ดมะกอกมีรูปไข่ มีขนาดใหญ่มากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ผล เปลือกเมล็ดมีสีเหลือง หนา แข็ง และเป็นเสี้ยน ด้านในเป็นเนื้อเมล็ดอยู่ตรงกลาง
ประโยชน์มะกอกป่า
1. ผลดิบ และผลสุกมีรสเปรี้ยว และมีกลิ่นหอม ใช้ปรุงรสอาหาร ได้แก่
– ผลดิบ และผลสุกใช้แทนมะนาวทำส้มตำ ส้มตำที่ใส่มะกอกจะมีรสเปรี้ยวธรรมชาติ ไม่เปรี้ยวจัด เกิดรสหวานเล็กน้อย ผลดิบจะใส่ประมาณ 2 ลูก โดยฝานเฉพาะเปลือก และเนื้อใส่ ส่วนมะกอกสุกใช้เพียง 1 ลูก ก็เพียงพอ แต่คนชอบเปรี้ยวอาจใส่ 2 ลูก จะได้รสเปรี้ยวมากขึ้น ทั้งนี้ เมล็ดที่ฝาเปลือก และเนื้อใส่แล้ว อาจใส่ลงในครกตำผสมก็ได้เช่นกัน ส่วนรสเปรี้ยว และความอร่อยของมะกอกจะขึ้นอยู่กับฤดูกาล มะกอกที่ออกในช่วงต้นฝนหรือมะกอกรุ่นแรกๆจะมีความอร่อยกว่ามะกอกที่ออกในช่วงฤดูหนาว
– ผลดิบ และผลสุก ใช้ใส่แทนมะนาวหรือมะขามในอาหารจำพวกต้มยำหรือแกงที่ต้องการรสเปรี้ยว น้ำต้มยำหรือน้ำแกงจะออกสีขาวขุ่น เป็นที่น่ารับประทาน
– เนื้อผลสุกใช้ใส่น้ำพริกหรืออาหารจำพวกยำหรือก้อย เช่น ก้อยกุ้งซึ่งเป็นที่นิยมของคนอีสาน
2. ผลดิบ และผลสุก ใช้รับประทานเป็นผลไม้แทนผลไม้อื่นที่ให้รสเปรี้ยว ทั้งรับประทานแบบจิ้มพริกเกลือหรือจิ้มน้ำปลา โดยผลดิบจะมีรสเปรี้ยวอมฟาด ส่วนผลสุกจะมีรสเปรี้ยว และกระตุ้นการหลั่งน้ำลาย
3. เนื้อผลสุกผสมน้ำตาล แล้วปั่นเป็นน้ำผลไม้ดื่ม
4. ผลอ่อนที่เมล็ดยังไม่มีเสี้ยน นำมาดอกเป็นมะกอกดอง
5. ยอดอ่อนมีสีแดงรื่อหรือเขียวอมแดง ไม่มีเสี้ยน มีรสเปรี้ยวอมฟาด มีกลิ่นหอม นิยมรับประทานเป็นผักกับน้ำพริก ซุบหน่อไม้ และเมนูลาบต่างๆ
6. รากมะกอกในระยะต้นอ่อนมีลักษณะคล้ายหัวมัน ขนาดใหญ่ เนื้อมีสีขาว มีรสหวาน นิยมขุดมาปอกเปลือกรับประทาน ทั้งนี้ หากขุดในระยะที่ต้นใหญ่จะไม่พบรากดังกล่าว ระยะที่เหมาะสม คือ ต้นมะกอกสูงไม่เกิน 30-60 เซนติเมตร
7. ยางจากต้นที่เกิดจากบาดแผลของด้วงหรือแมลง มีลักษณะเป็นเมือกใสสีแดงอมน้ำตาล สามารถใช้เป็นกาวติดของได้
8. ไม้มะกอก เป็นไม้เนื้ออ่อน แก่นไม่แข็งมาก แปรรูปง่าย ใช้แปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องเรือนได้ แต่ไม่เหมาะสำหรับไม้ก่อสร้าง
9. ไม้มะกอกใช้สับเป็นเยื่อไม้สำหรับผลิตกระดาษ
10. เปลือกต้นมะกอกใช้ฟอกย้อมแห ย้อมตาข่าย ยางเหนียว และสารสีช่วยให้แหหรือตาข่ายแข็งแรง ป้องกันสัตว์หรือแมลงกัดแทะ
สรรพคุณมะกอกป่า
ผล
– ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย
– ช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นการหลั่งน้ำลาย และการยากอาหาร
– แก้อาการไข้หวัด ลดปริมาณน้ำมูก
– แก้เลือดออกตามไรฟัน
– แก้โรคขาดแคลเซียม
– ช่วยให้ชุ่มคอ แก้การกระหายน้ำ
– แก้อาการท้องเสีย
– แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
– กระตุ้นการขับถ่าย
– แก้ดีพิการ
– แก้อาการสะอึก
– แก้น้ำดีไม่ปกติ
– แก้อาการกระเพาะพิการ
เมล็ด
– เมล็ดเผาไฟ ก่อนใช้ชงน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการหอบ อาการสะอึก และแก้อาการร้อนใน
ใบ และยอดอ่อน
– กระตุ้นการขับถ่าย
– แก้เลือดออกตามไรฟัน
– ช่วยให้ชุ่มคอ แก้การกระหายน้ำ
– แก้อาการร้อนใน
– แก้อาการท้องเสีย
– แก้น้ำเหลือง ช่วยสมานแผล
– แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
– แก้อาการปวดท้อง
– แก้โรคปวดตามข้อ ปวดตามกระดูก
– น้ำคั้นจากใบสดใช้หยอดหู แก้อาการปวดหู
– ใช้ต้มอาบ แก้โรคผิวหนัง
– ที่บาหลีใช้ใบและเปลือกของมะกอกผสมกับใบมะพร้าวอ่อนทำเป็นโลชั่นสำหรับทารักษาแผลหรือแก้อาการร้อนในตามร่างกาย
เปลือกลำต้น
– แก้อาการท้องเสีย
– แก้อาเจียน
– แก้อาการสะอึก
– แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้
– แก้เลือดออกตามไรฟัน
– ใช้ทารักษาแผลพุพอง
– ใช้ต้มอาบ แก้โรคผิวหนัง
รากอ่อน
– ช่วยบำรุงร่างกาย
– ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากการเจ็บป่วย
– ช่วยให้ชุ่มคอ แก้การกระหายน้ำ
– ช่วยแก้ร้อนใน
– ช่วยปรับระดูให้ปกติ
– ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด ปัสสาวะไม่ออก
– แก้บิดมูกเลือด
– แก้อาการสำแดงหรือกินของแสลงเป็นพิษ
ที่มา : [1], [3], [4]
การปลูกมะกอกป่า
มะกอกสามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด การตอน และการปักชำ แต่ส่วนมากนิยมใช้การเพาะเมล็ดเป็นหลัก เพราะทำให้ได้ต้นใหญ่ ปริมาณผลมาก และอายุยืนยาว เหมาะสำหรับปลูกตามหัวไร่ปลายนา ส่วนการตอน และการปักชำ ไม่เป็นที่นิยมนัก เพราะติดรากยาก เนื่องจากเป็นไม้เนื้ออ่อน และการแตกกิ่งน้อย รวมถึงอายุต้นได้ไม่กี่ปี แต่มีข้อดี คือ ติดผลเร็ว และลำต้นไม่สูงมาก เหมาะสำหรับปลูกบริเวณพื้นที่จำกัด
การเพาะเมล็ด ควรเลือกเฉาะเมล็ดจากผลที่ร่วงจากต้น จากนั้น นำผลมาตากแดดจนแห้ง ก่อนนำผลมาห่อด้วยผ้าหรือหนังสือพิมพ์ แล้งเก็บไว้ในที่ร่ม นาน 2-3 เดือน เพื่อให้เมล็ดพักตัว แต่หากหาลำบาก อาจใช้เมล็ดมะกอกในส้มตำที่สั่งรับประทานก็ได้เช่นกัน
เมื่อถึงต้นฤดูฝนหรืออาจก่อนฤดูฝน ให้นำผลมาปอกเปลือกผลออกให้หมด ก่อนนำไปแช่น้ำอุ่นนาน 5-10 นาที และช่อน้ำนาน 6-12 ชั่วโมง จากนั้น นำเมล็ดลงเพาะในถุงเพาะชำ ทั้งนี้ ควรใช้ถุงขนาดใหญ่ 8-10 นิ้ว เพาะ เนื่องจาก รากมะกอกในระยะหลังงอกจะเติบโตเร็ว และมีความยาวมาก เมื่อเพาะกล้าจนต้นกล้าสูง 15-20 เซนติเมตร จึงย้ายลงปลูกตามที่ต้องการ
ขอบคุณภาพจาก phargarden.com/, Pantip.com/, BlogGang.com/,
เอกสารอ้างอิง
[1] เนาวรัตน์ ชัชวาลโชคชัย, 2530, อิทธิพลของสัตว์เคี้ยวเอื้องบางชนิด-
ที่มีต่อคุณภาพของเมล็ดมะขามป้อม-
มะกอกน้ำ มะกอกป่า และสมอไทย.
[2] สวนพฤกษศาสตร์ ตามพระราชเสาวนีย์ฯ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, มะกอกป่า, ออนไลน์, สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2560, เข้าถึงได้ที่ : http://www.dnp.go.th/Pattani_botany/พันธุ์ไม้/ป่าบก/มะกอกป่า/มะกอกป่า.htm/.
[3] ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), มะกอกป่า, ออนไลน์, สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2560, เข้าถึงได้ที่ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=7318/.
[4] ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, มะกอก, ออนไลน์, สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2560, เข้าถึงได้ที่ : http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=87/.
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spondias pinnata Kurz.
• ชื่อสามัญ : Hog plum, Wild Mango
• ชื่อท้องถิ่น :
ภาคกลาง
– มะกอก
– มะกอกป่า
– มะกอกไทย
– กราไพ้ย ไพ้ย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ภาคเหนือ
– กูก กอกกุก (เชียงราย)
– ไพแซ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)
– กอกหมอง (ชาน)
ภาคอีสาน
– มะกอก/หมากกอก
ภาคใต้
– กอกเขา (นครศรีธรรมราช)
ที่มา : [1] อ้างถึงใน (Burkill, 1996; เต็ม 2523), [2]
ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
มะกอกป่า มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ และป่าดิบชื้น ที่ระดับประมาณ 50–500 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล [2]
ลำต้น
มะกอกป่าเป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ แตกกิ่งน้อย ทรงพุ่มมีลักษณะทรงกลม ทรงพุ่มหนาหลังการแตกใบใหม่ช่วงฤดูฝน ส่วนหน้าแล้งจะทิ้งใบจนเหลือแต่กิ่งก้าน ลำต้นมีลักษณะทรงกลม และตั้งตรง สูงประมาณ 15-25 เมตร หรือมากกว่า เปลือกลำต้นหนา มีสีเทาอมน้ำตาลหรือสีเทาอมดำ บางต้นอาจพบราสีขาวเจริญบนเปลือก เปลือกลำต้นอาจเรียบหรือแตกสะเก็ด ขึ้นอยู่กับอายุ ต้นที่อายุมากจะแตกสะเก็ดที่ผิวลำต้น เปลือกด้านในมีสีน้ำตาลอมชมพู ส่วนแก่นไม้เป็นไม้เนื้ออ่อน
ใบ
ใบมะกอก เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว แบบปลายใบคี่ มีก้านใบหลักออกเรียงเวียนสลับกัน ก้านใบหลักยาวประมาณ 5-25 เซนติเมตร มีใบย่อยที่เรียงตรงข้ามกัน 4-6 คู่ และใบย่อยเดี่ยวบริเวณปลายใบ 1 ใบ รวมเป็น 9-13 ใบ
ใบย่อยแต่ละใบมีรูปขอบขนาน ค่อนข้างหนา และหยาบ กว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร มีก้านใบสั้น ประมาณ 0.2-0.8 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขอบ และแผ่นใบเรียบ แต่ขอบใบจะเรียบไม่สม่ำเสมอกัน แผ่นใบมีเส้นกลางใบ และเส้นแขนงใบมองเห็นชัดเจน แผ่นใบอ่อนหรือยอดอ่อนมีสีแดงเข้ม สีส้ม สีเขียวอมส้ม จากนั้นเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อน และเขียวเข้มตามอายุ
ดอก
ดอกมะกอกออกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง เป็นดอกแยกเพศบนช่อดอกเดียวกัน ช่อดอกหลักแตกแขนงออกเป็นช่อย่อย บนช่อย่อยมีดอกขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกอ่อนมีลักษณะกลมสีเขียวสด เมื่อบานจะมีสีขาวอมครีม ฐานดกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ เป็นรูปถ้วย ส่วนกลีบดอกถัดมามี 5 กลีบ แต่ละกลีบมีรูปรี ปลายกลีบแหลม ตรงกลางมีเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย แต่แยกดอกกัน หรืออยู่ร่วมกันแต่เกสรอีกชนิดเป็นหมัน เกสรตัวเมียปลายแยกเป็น 4 แฉก
ทั้งนี้ มะกอกจะเริ่มออกดอกตั้งแต่ต้นฤดูฝน ประมาณเมษายน-มิถุนายน จากนั้น จะทยอยออกดอก และบานเรื่อยๆจนถึงฤดูหนาว แต่ส่วนมากจะพบออกดอก และติดผลมากในช่วงปลายฤดูหนาว
ผล
ผลมะกอกออกเป็นช่อ เป็นผลสด มีรูปไข่หรือกลมรี ขนาดผล 2.5-3.5 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร เปลือกผลบาง เป็นมัน ผลอ่อนมีสีเขียวสด ผลแก่หรือผลสุกมีสีเขียวอมเหลือง และมีจุดประสีน้ำตาลอมดำกระจายทั่ว ด้านในเป็นเนื้อผล มีลักษณะฉ่ำน้ำ มีความหนาของเนื้อผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร จากนั้นเป็นเมล็ด ทั้งนี้ ผลมะกอกจะเริ่มสุกให้เก็บมากในช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม
เมล็ด
เมล็ดมะกอกมีรูปไข่ มีขนาดใหญ่มากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ผล เปลือกเมล็ดมีสีเหลือง หนา แข็ง และเป็นเสี้ยน ด้านในเป็นเนื้อเมล็ดอยู่ตรงกลาง
ประโยชน์มะกอกป่า
1. ผลดิบ และผลสุกมีรสเปรี้ยว และมีกลิ่นหอม ใช้ปรุงรสอาหาร ได้แก่
– ผลดิบ และผลสุกใช้แทนมะนาวทำส้มตำ ส้มตำที่ใส่มะกอกจะมีรสเปรี้ยวธรรมชาติ ไม่เปรี้ยวจัด เกิดรสหวานเล็กน้อย ผลดิบจะใส่ประมาณ 2 ลูก โดยฝานเฉพาะเปลือก และเนื้อใส่ ส่วนมะกอกสุกใช้เพียง 1 ลูก ก็เพียงพอ แต่คนชอบเปรี้ยวอาจใส่ 2 ลูก จะได้รสเปรี้ยวมากขึ้น ทั้งนี้ เมล็ดที่ฝาเปลือก และเนื้อใส่แล้ว อาจใส่ลงในครกตำผสมก็ได้เช่นกัน ส่วนรสเปรี้ยว และความอร่อยของมะกอกจะขึ้นอยู่กับฤดูกาล มะกอกที่ออกในช่วงต้นฝนหรือมะกอกรุ่นแรกๆจะมีความอร่อยกว่ามะกอกที่ออกในช่วงฤดูหนาว
– ผลดิบ และผลสุก ใช้ใส่แทนมะนาวหรือมะขามในอาหารจำพวกต้มยำหรือแกงที่ต้องการรสเปรี้ยว น้ำต้มยำหรือน้ำแกงจะออกสีขาวขุ่น เป็นที่น่ารับประทาน
– เนื้อผลสุกใช้ใส่น้ำพริกหรืออาหารจำพวกยำหรือก้อย เช่น ก้อยกุ้งซึ่งเป็นที่นิยมของคนอีสาน
2. ผลดิบ และผลสุก ใช้รับประทานเป็นผลไม้แทนผลไม้อื่นที่ให้รสเปรี้ยว ทั้งรับประทานแบบจิ้มพริกเกลือหรือจิ้มน้ำปลา โดยผลดิบจะมีรสเปรี้ยวอมฟาด ส่วนผลสุกจะมีรสเปรี้ยว และกระตุ้นการหลั่งน้ำลาย
3. เนื้อผลสุกผสมน้ำตาล แล้วปั่นเป็นน้ำผลไม้ดื่ม
4. ผลอ่อนที่เมล็ดยังไม่มีเสี้ยน นำมาดอกเป็นมะกอกดอง
5. ยอดอ่อนมีสีแดงรื่อหรือเขียวอมแดง ไม่มีเสี้ยน มีรสเปรี้ยวอมฟาด มีกลิ่นหอม นิยมรับประทานเป็นผักกับน้ำพริก ซุบหน่อไม้ และเมนูลาบต่างๆ
6. รากมะกอกในระยะต้นอ่อนมีลักษณะคล้ายหัวมัน ขนาดใหญ่ เนื้อมีสีขาว มีรสหวาน นิยมขุดมาปอกเปลือกรับประทาน ทั้งนี้ หากขุดในระยะที่ต้นใหญ่จะไม่พบรากดังกล่าว ระยะที่เหมาะสม คือ ต้นมะกอกสูงไม่เกิน 30-60 เซนติเมตร
7. ยางจากต้นที่เกิดจากบาดแผลของด้วงหรือแมลง มีลักษณะเป็นเมือกใสสีแดงอมน้ำตาล สามารถใช้เป็นกาวติดของได้
8. ไม้มะกอก เป็นไม้เนื้ออ่อน แก่นไม่แข็งมาก แปรรูปง่าย ใช้แปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องเรือนได้ แต่ไม่เหมาะสำหรับไม้ก่อสร้าง
9. ไม้มะกอกใช้สับเป็นเยื่อไม้สำหรับผลิตกระดาษ
10. เปลือกต้นมะกอกใช้ฟอกย้อมแห ย้อมตาข่าย ยางเหนียว และสารสีช่วยให้แหหรือตาข่ายแข็งแรง ป้องกันสัตว์หรือแมลงกัดแทะ
สรรพคุณมะกอกป่า
ผล
– ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย
– ช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นการหลั่งน้ำลาย และการยากอาหาร
– แก้อาการไข้หวัด ลดปริมาณน้ำมูก
– แก้เลือดออกตามไรฟัน
– แก้โรคขาดแคลเซียม
– ช่วยให้ชุ่มคอ แก้การกระหายน้ำ
– แก้อาการท้องเสีย
– แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
– กระตุ้นการขับถ่าย
– แก้ดีพิการ
– แก้อาการสะอึก
– แก้น้ำดีไม่ปกติ
– แก้อาการกระเพาะพิการ
เมล็ด
– เมล็ดเผาไฟ ก่อนใช้ชงน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการหอบ อาการสะอึก และแก้อาการร้อนใน
ใบ และยอดอ่อน
– กระตุ้นการขับถ่าย
– แก้เลือดออกตามไรฟัน
– ช่วยให้ชุ่มคอ แก้การกระหายน้ำ
– แก้อาการร้อนใน
– แก้อาการท้องเสีย
– แก้น้ำเหลือง ช่วยสมานแผล
– แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
– แก้อาการปวดท้อง
– แก้โรคปวดตามข้อ ปวดตามกระดูก
– น้ำคั้นจากใบสดใช้หยอดหู แก้อาการปวดหู
– ใช้ต้มอาบ แก้โรคผิวหนัง
– ที่บาหลีใช้ใบและเปลือกของมะกอกผสมกับใบมะพร้าวอ่อนทำเป็นโลชั่นสำหรับทารักษาแผลหรือแก้อาการร้อนในตามร่างกาย
เปลือกลำต้น
– แก้อาการท้องเสีย
– แก้อาเจียน
– แก้อาการสะอึก
– แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้
– แก้เลือดออกตามไรฟัน
– ใช้ทารักษาแผลพุพอง
– ใช้ต้มอาบ แก้โรคผิวหนัง
รากอ่อน
– ช่วยบำรุงร่างกาย
– ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากการเจ็บป่วย
– ช่วยให้ชุ่มคอ แก้การกระหายน้ำ
– ช่วยแก้ร้อนใน
– ช่วยปรับระดูให้ปกติ
– ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด ปัสสาวะไม่ออก
– แก้บิดมูกเลือด
– แก้อาการสำแดงหรือกินของแสลงเป็นพิษ
ที่มา : [1], [3], [4]
การปลูกมะกอกป่า
มะกอกสามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด การตอน และการปักชำ แต่ส่วนมากนิยมใช้การเพาะเมล็ดเป็นหลัก เพราะทำให้ได้ต้นใหญ่ ปริมาณผลมาก และอายุยืนยาว เหมาะสำหรับปลูกตามหัวไร่ปลายนา ส่วนการตอน และการปักชำ ไม่เป็นที่นิยมนัก เพราะติดรากยาก เนื่องจากเป็นไม้เนื้ออ่อน และการแตกกิ่งน้อย รวมถึงอายุต้นได้ไม่กี่ปี แต่มีข้อดี คือ ติดผลเร็ว และลำต้นไม่สูงมาก เหมาะสำหรับปลูกบริเวณพื้นที่จำกัด
การเพาะเมล็ด ควรเลือกเฉาะเมล็ดจากผลที่ร่วงจากต้น จากนั้น นำผลมาตากแดดจนแห้ง ก่อนนำผลมาห่อด้วยผ้าหรือหนังสือพิมพ์ แล้งเก็บไว้ในที่ร่ม นาน 2-3 เดือน เพื่อให้เมล็ดพักตัว แต่หากหาลำบาก อาจใช้เมล็ดมะกอกในส้มตำที่สั่งรับประทานก็ได้เช่นกัน
เมื่อถึงต้นฤดูฝนหรืออาจก่อนฤดูฝน ให้นำผลมาปอกเปลือกผลออกให้หมด ก่อนนำไปแช่น้ำอุ่นนาน 5-10 นาที และช่อน้ำนาน 6-12 ชั่วโมง จากนั้น นำเมล็ดลงเพาะในถุงเพาะชำ ทั้งนี้ ควรใช้ถุงขนาดใหญ่ 8-10 นิ้ว เพาะ เนื่องจาก รากมะกอกในระยะหลังงอกจะเติบโตเร็ว และมีความยาวมาก เมื่อเพาะกล้าจนต้นกล้าสูง 15-20 เซนติเมตร จึงย้ายลงปลูกตามที่ต้องการ
ขอบคุณภาพจาก phargarden.com/, Pantip.com/, BlogGang.com/,
เอกสารอ้างอิง
[1] เนาวรัตน์ ชัชวาลโชคชัย, 2530, อิทธิพลของสัตว์เคี้ยวเอื้องบางชนิด-
ที่มีต่อคุณภาพของเมล็ดมะขามป้อม-
มะกอกน้ำ มะกอกป่า และสมอไทย.
[2] สวนพฤกษศาสตร์ ตามพระราชเสาวนีย์ฯ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, มะกอกป่า, ออนไลน์, สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2560, เข้าถึงได้ที่ : http://www.dnp.go.th/Pattani_botany/พันธุ์ไม้/ป่าบก/มะกอกป่า/มะกอกป่า.htm/.
[3] ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), มะกอกป่า, ออนไลน์, สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2560, เข้าถึงได้ที่ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=7318/.
[4] ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, มะกอก, ออนไลน์, สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2560, เข้าถึงได้ที่ : http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=87/.
อโศกอินเดีย
อโศกอินเดีย หรือ อโศกเซนต์คาเบรียล
(ชื่อวิทยาศาสตร์: Polyalthia longifolia) เป็นไม้ยืนต้นสูง ในวงศ์ Annonaceae มีลักษณะเป็นไม้ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มเป็นรูปปิรามิดแคบ ๆ สูงเต็มที่ได้ถึง 25 เมตร กิ่งโน้มลู่ลงทั้งต้น ทำให้แลดูต้นสูงชลูดมาก เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทาเข้ม หรือเทาปนน้ำตาล ใบเดี่ยวรูปใบหอกแคบ ๆ ปลายแหลมยาว 15 - 20 เซนติเมตร สีเขียวเป็นมันเงางาม ขอบใบเป็นคลื่น
(ชื่อวิทยาศาสตร์: Polyalthia longifolia) เป็นไม้ยืนต้นสูง ในวงศ์ Annonaceae มีลักษณะเป็นไม้ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มเป็นรูปปิรามิดแคบ ๆ สูงเต็มที่ได้ถึง 25 เมตร กิ่งโน้มลู่ลงทั้งต้น ทำให้แลดูต้นสูงชลูดมาก เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทาเข้ม หรือเทาปนน้ำตาล ใบเดี่ยวรูปใบหอกแคบ ๆ ปลายแหลมยาว 15 - 20 เซนติเมตร สีเขียวเป็นมันเงางาม ขอบใบเป็นคลื่น
ออกดอกในระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน จะออกดอกสีเขียวอ่อนเป็นกระจุกตามข้างๆ กิ่ง แต่ละดอกเป็นรูปดาว 6 แฉก กลีบดอกเป็นคลื่นน้อย ๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 - 2 เซนติเมตร ดอกบานอยู่นาน 3 สัปดาห์
ผลรูปไข่ ยาว 2 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีดำ เป็นไม้ต้นทรงสูงชะลูด สามารถสูงได้เกินกว่า 30 ฟุต เป็นแท่งกลมปลายแหลม ทรงพุ่มแผ่นทึบ ใบรูปหอก แนว ยาวสีเขียวเข้ม ขอบใบเป็นคลื่น ดอกออกเป็นช่อสีเขียวอ่อน รูปดาว 6 แฉก ดอกมีกลิ่นอ่อน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับและเป็นร่มเงา มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินเดียและศรีลังกา
วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
การบูร
การบูร
การบูร ชื่อสามัญ Camphor, Gum camphor, Formosan camphor, Laurel camphor
การบูร ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum camphora (L.) J.Presl[1],[5],[6] (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Camphora officinarum Nees, Laurus camphora L.[1]) จัดอยู่ในวงศ์อบเชย (LAURACEAE)[1],[4]
สมุนไพรการบูร มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า การะบูน การบูร (ภาคกลาง), อบเชยญวน (ไทย), พรมเส็ง (เงี้ยว), เจียโล่ (จีนแต้จิ๋ว), จางมู่ จางหน่าว (จีนกลาง) เป็นต้น[1],[3],[4],[6]
ลักษณะของการบูร
ต้นการบูร เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของประเทศจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน มีเขตการกระจายพันธุ์ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน อินโดนีเซีย อินเดีย อียิปต์ แอฟริกาใต้ จาไมกา บราซิล สหรัฐอเมริกา และประเทศไทย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นทรงพุ่มกว้างและทึบ มีความสูงของต้นได้ถึง 30 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 1.5 เมตร เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล ผิวหยาบ ส่วนเปลือกกิ่งเป็นสีเขียวหรือเป็นสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นและกิ่งเรียบไม่มีขน ส่วนเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลปนแดง เมื่อนำมากลั่นแล้วจะได้ “การบูร” ทุกส่วนมีกลิ่นหอม โดยเฉพาะที่ส่วนที่ของรากและโคนต้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และวิธีการปักชำ[1],[8]
ต้นการบูร
เปลือกต้นการบูร
ใบการบูร ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปรีแกมรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบป้านหรือกลม ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5.5-15 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างเหนียว หลังใบเป็นสีเขียวเข้มและเป็นมัน ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอมเทาหรือนวล ไม่มีขน เส้นใบขึ้นตรงมาจากโคนใบประมาณ 3-8 มิลลิเมตร แล้วแยกออกเป็นเส้น 3 เส้น ตรงมุมที่มีเส้นใบแยกออกนั้นมีต่อม 2 ต่อม และตามเส้นกลางใบอาจมีต่อมเกิดขึ้นตรงมุมที่มีเส้นใบแยกออกไป ส่วนก้านใบมีความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ไม่มีขน ที่ตาใบมีเกล็ดซ้อนเหลื่อมกันอยู่ โดยเกล็ดชั้นนอกจะเล็กกว่าเกล็ดชั้นในตามลำดับ และเมื่อนำใบมาขยี้จะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นการบูร[1]
ใบการบูร
ดอกการบูร ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนง โดยจะออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีขาวอมสีเหลืองหรืออมสีเขียว ก้านดอกย่อยมีขนาดสั้นมาก ดอกรวมมีกลีบ 6 กลีบ เรียงเป็นวง 2 วง วงละ 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปรี ปลายมน ด้านนอกเกลี้ยง ส่วนด้านในมีขนละเอียด ดอกมีเกสรเพศผู้ 9 ก้าน เรียงเป็นวง 3 วง วงละ 3 ก้าน ส่วนอับเรณูของวงที่1 และ 2 หันหน้าเข้าด้านใน ที่ก้านเกสรมีขน ส่วนวงที่ 3 จะหันหน้าออกทางด้านนอก ที่ก้านเกสรค่อนข้างใหญ่ มีต่อม 2 ต่อม อยู่ใกล้กับก้าน ลักษณะของต่อมเป็นรูปไข่กว้างและมีก้าน อับเรณูจะมีช่องเปิด 4 ช่อง เรียงกันเป็นแถว 2 แถว แถวละ 2 ช่อง มีลิ้นเปิดทั้ง 4 ช่อง ส่วนเกสรเพศผู้เป็นหมันมี 3 ก้าน อยู่ด้านในสุด ลักษณะเป็นรูปร่างคล้ายหัวลูกศร มีแต่ขนและไม่มีต่อม ส่วนรังไข่เป็นรูปไข่ ไม่มีขน ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ไม่มีขน ปลายเกสรเพศเมียมีลักษณะกลม ส่วนใบประดับมีลักษณะเรียวยาว ร่วงได้ง่าย และมีขนอ่อนนุ่ม โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม[1]
ดอกต้นการบูร
ดอกการบูร
ผลการบูร ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือกลม และเป็นผลแบบมีเนื้อ ผลเป็นสีเขียวเข้มมีขนาดยาวประมาณ 6-10 มิลลิเมตร เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ผลมีฐานดอกซึ่งเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นแป้นรองรับผล ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด[1]
ผลการบูร
ลูกการบูร
การบูร คือผลึกที่แทรกอยู่ในเนื้อไม้ของต้นการบูร ที่มีอยู่ทั่วไปทั้งต้น โดยมักจะอยู่ตามรอยแตกของเนื้อไม้ และมีมากที่สุดในแก่นของราก รองลงมาคือส่วนแก่นของต้น ซึ่งส่วนที่อยู่ใกล้กับโคนต้นจะมีการบูรมากกว่าส่วนที่อยู่เหนือขึ้นมา ส่วนในใบและยอดอ่อนมีการบูรอยู่น้อย โดยในใบอ่อนจะมีน้อยกว่าใบแก่ ซึ่งผงการบูรนั้นจะมีลักษณะเป็นเกล็ดกลม ๆ ขนาดเล็ก เป็นสีขาวและแห้ง อาจจับกันเป็นก้อนร่วน ๆ และแตกง่าย เมื่อทิ้งไว้ในอากาศจะระเหิดไปหมด โดยจะมีรสปร่าเมา[2][4]
การบูร ชื่อสามัญ Camphor, Gum camphor, Formosan camphor, Laurel camphor
การบูร ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum camphora (L.) J.Presl[1],[5],[6] (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Camphora officinarum Nees, Laurus camphora L.[1]) จัดอยู่ในวงศ์อบเชย (LAURACEAE)[1],[4]
สมุนไพรการบูร มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า การะบูน การบูร (ภาคกลาง), อบเชยญวน (ไทย), พรมเส็ง (เงี้ยว), เจียโล่ (จีนแต้จิ๋ว), จางมู่ จางหน่าว (จีนกลาง) เป็นต้น[1],[3],[4],[6]
ลักษณะของการบูร
ต้นการบูร เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของประเทศจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน มีเขตการกระจายพันธุ์ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน อินโดนีเซีย อินเดีย อียิปต์ แอฟริกาใต้ จาไมกา บราซิล สหรัฐอเมริกา และประเทศไทย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นทรงพุ่มกว้างและทึบ มีความสูงของต้นได้ถึง 30 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 1.5 เมตร เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล ผิวหยาบ ส่วนเปลือกกิ่งเป็นสีเขียวหรือเป็นสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นและกิ่งเรียบไม่มีขน ส่วนเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลปนแดง เมื่อนำมากลั่นแล้วจะได้ “การบูร” ทุกส่วนมีกลิ่นหอม โดยเฉพาะที่ส่วนที่ของรากและโคนต้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และวิธีการปักชำ[1],[8]
ต้นการบูร
เปลือกต้นการบูร
ใบการบูร ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปรีแกมรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบป้านหรือกลม ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5.5-15 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างเหนียว หลังใบเป็นสีเขียวเข้มและเป็นมัน ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอมเทาหรือนวล ไม่มีขน เส้นใบขึ้นตรงมาจากโคนใบประมาณ 3-8 มิลลิเมตร แล้วแยกออกเป็นเส้น 3 เส้น ตรงมุมที่มีเส้นใบแยกออกนั้นมีต่อม 2 ต่อม และตามเส้นกลางใบอาจมีต่อมเกิดขึ้นตรงมุมที่มีเส้นใบแยกออกไป ส่วนก้านใบมีความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ไม่มีขน ที่ตาใบมีเกล็ดซ้อนเหลื่อมกันอยู่ โดยเกล็ดชั้นนอกจะเล็กกว่าเกล็ดชั้นในตามลำดับ และเมื่อนำใบมาขยี้จะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นการบูร[1]
ใบการบูร
ดอกการบูร ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนง โดยจะออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีขาวอมสีเหลืองหรืออมสีเขียว ก้านดอกย่อยมีขนาดสั้นมาก ดอกรวมมีกลีบ 6 กลีบ เรียงเป็นวง 2 วง วงละ 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปรี ปลายมน ด้านนอกเกลี้ยง ส่วนด้านในมีขนละเอียด ดอกมีเกสรเพศผู้ 9 ก้าน เรียงเป็นวง 3 วง วงละ 3 ก้าน ส่วนอับเรณูของวงที่1 และ 2 หันหน้าเข้าด้านใน ที่ก้านเกสรมีขน ส่วนวงที่ 3 จะหันหน้าออกทางด้านนอก ที่ก้านเกสรค่อนข้างใหญ่ มีต่อม 2 ต่อม อยู่ใกล้กับก้าน ลักษณะของต่อมเป็นรูปไข่กว้างและมีก้าน อับเรณูจะมีช่องเปิด 4 ช่อง เรียงกันเป็นแถว 2 แถว แถวละ 2 ช่อง มีลิ้นเปิดทั้ง 4 ช่อง ส่วนเกสรเพศผู้เป็นหมันมี 3 ก้าน อยู่ด้านในสุด ลักษณะเป็นรูปร่างคล้ายหัวลูกศร มีแต่ขนและไม่มีต่อม ส่วนรังไข่เป็นรูปไข่ ไม่มีขน ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ไม่มีขน ปลายเกสรเพศเมียมีลักษณะกลม ส่วนใบประดับมีลักษณะเรียวยาว ร่วงได้ง่าย และมีขนอ่อนนุ่ม โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม[1]
ดอกต้นการบูร
ดอกการบูร
ผลการบูร ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือกลม และเป็นผลแบบมีเนื้อ ผลเป็นสีเขียวเข้มมีขนาดยาวประมาณ 6-10 มิลลิเมตร เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ผลมีฐานดอกซึ่งเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นแป้นรองรับผล ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด[1]
ผลการบูร
ลูกการบูร
การบูร คือผลึกที่แทรกอยู่ในเนื้อไม้ของต้นการบูร ที่มีอยู่ทั่วไปทั้งต้น โดยมักจะอยู่ตามรอยแตกของเนื้อไม้ และมีมากที่สุดในแก่นของราก รองลงมาคือส่วนแก่นของต้น ซึ่งส่วนที่อยู่ใกล้กับโคนต้นจะมีการบูรมากกว่าส่วนที่อยู่เหนือขึ้นมา ส่วนในใบและยอดอ่อนมีการบูรอยู่น้อย โดยในใบอ่อนจะมีน้อยกว่าใบแก่ ซึ่งผงการบูรนั้นจะมีลักษณะเป็นเกล็ดกลม ๆ ขนาดเล็ก เป็นสีขาวและแห้ง อาจจับกันเป็นก้อนร่วน ๆ และแตกง่าย เมื่อทิ้งไว้ในอากาศจะระเหิดไปหมด โดยจะมีรสปร่าเมา[2][4]
ต้นหางนกยูง
ต้นหางนกยูง
ชื่อวิทยาศาสตร์:Scientific name : caesalpinia pulcherrima (Linn.) Swartz
ชื่อเรียกอื่น :Other name(s) :ขวางยอย ส้มพอ จำพอ ซมพอ นกยูงไทย
ลักษณะ : ไม้พุ่ม สูง 1-2.5 เมตร ทรงพุ่มกลม กิ่งก้านมีหนาม ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกสลับ ใบย่อย 6-12 คู่ รูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ โคนเบี้ยว กว้าง 0.6-1 ซม. ยาว 1-2.5 ซม. ดอก มีหลายสี ได้แก่ เหลือง แดง ส้ม ชมพู ออกเป็นช่อ กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เมื่อบานขนาดผ่าศูนย์กลาง 4 ซม. เกสรผู้ 10 อัน ผล เป็นฝักแบน กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 10-12 ซม. เมื่อแก่แตกมี 8-10 เมล็ด
Characteristics :
การกระจายพันธุ์ :
มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน ปลูกได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย ออกดอกตลอดปี
Distribution :
ช่วงเวลาการออกดอก :
Flowering Time :
ประโยชน์ :นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ รากใช้ปรุงเป็นยาขับประจำเดือน
แหล่งอ้างอิง :
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 3
Reference(s) :
-
คิวอาร์โค้ด
QR Code
พะยอม
พะยอม
พะยอม ชื่อสามัญ Shorea, White meranti
พะยอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G.Don (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Shorea talura Roxb.) จัดอยู่ในวงศ์ยางนา (DIPTEROCARPACEAE)
สมุนไพรพะยอม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แดน (เลย), ยางหยวก (น่าน), กะยอม เชียง เซียว เซี่ย (เชียงใหม่), พะยอมทอง (ปราจีนบุรี สุราษฎร์ธานี), ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ), สุกรม (ภาคกลาง), คะยอม ขะยอม (อีสาน), ยอม (ภาคใต้), ขะยอม (ลาว), พะยอมแดง แคน พยอม เป็นต้น
ลักษณะของต้นพะยอม
ต้นพะยอม (ต้นพยอม) มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและเอเชีย เช่น ประเทศพม่า ลาว ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ มีความสูงประมาณ 15-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นอาจยาวถึง 300 เซนติเมตร เปลือกต้นมีสีน้ำตาลหรือสีเทาเข้ม แตกเป็นร่องตามยาวและเป็นสะเก็ดหนา ส่วนเนื้อไม้มีสีเหลืองถึงสีน้ำตาล ลักษณะของต้นเป็นทรงพุ่มกลมสวยงามมาก แตกกิ่งก้านจำนวนมาก ถ้าหากปลูกในที่โล่งแจ้งและไม่มีพรรณไม้ใหญ่ชนิดอื่นอยู่ใกล้ ๆ เป็นต้นไม้ที่สวยโดยธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องทำการตัดแต่งกิ่งแต่อย่างใด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง ซึ่งในปัจจุบันพันธุ์ไม้ชนิดนี้กำลังเริ่มลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ โดยสามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณแล้งและชื้น หรือป่าดิบแล้งทั่วไป ทุกภาคของประเทศที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 60-1,200 เมตร และดอกพะยอมยังเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ด้วย
ต้นพะยอม
ต้นพยอม
พยอม
ใบพะยอม ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน โคนใบสอบมน ปลายใบแหลม ขอบเรียบเป็นคลื่น ด้านหลังใบจะมีเส้นใบมองเห็นชัดเจน ใบมีความยาวประมาณ 12-18 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร
ใบพยอม
ดอกพะยอม (ดอกพยอม) ออกดอกเป็นช่อใหญ่ ออกดอกตามส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม ดอกมีกลีบ 3 กลีบ กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร โคนกลีบดอกติดกับก้านดอก มีลักษณะกลม ออกดอกพร้อมกันเกือบทั้งต้น โดยจะออกดอกในช่วยเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ดอกพยอม
ดอกพะยอม
ผลพะยอม ผลแห้งมีปีกแบบ Samara ลักษณะเป็นทรงไข่และกระสวย ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ซ่อนตัวอยู่ในกระพุ้ง โคนปีกมี 5 ปีก ประกอบด้วยปีกยาวรูปขอบขนาน 3 ปีก ยาวประมาณ 8 เซนติเมตร มีเส้นตามยาวของปีกประมาณ 10 เส้น และปีกสั้นมี 2 ปีก มีความยาวไม่เกิน 3 เซนติเมตร ในผลมีเมล็ดหนึ่งเมล็ด ออกผลในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม
ผลพะยอม
สรรพคุณของพะยอม
พยอม สรรพคุณของดอกช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)
สรรพคุณสมุนไพรพยอม ดอกใช้ผสมเป็นยาแก้ไข้ (ดอก)
ดอกใช้ทำเป็นยาหอมไว้แก้ลม (ดอก)
สรรพคุณต้นพยอมช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน (เปลือกต้น)
เปลือกต้นใช้กินแทนหมาก ช่วยแก้ลำไส้อักเสบได้ (เปลือกต้น)
เปลือกต้นมีสีสาร Tannin มาก สามารถใช้เป็นยาฝาดสมานแผลในลำไส้ได้ (เปลือกต้น)
สรรพคุณพยอมช่วยสมานบาดแผล ชำระบาดแผล ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาฝนแล้วทาบริเวณบาดแผล
ประโยชน์ของพะยอม
ดอกอ่อนสามารถนำมารับประทานสดได้ หรือจะนำมาลวกเป็นผักไว้จิ้มกินกับน้ำพริก ใช้ผัดกับไข่ ชุบไข่ทอด หรือจะนำมารับประทานเป็นน้ำซุปร้อน ๆ โดยนำมาแกงส้มก็ได้เช่นกัน โดยคุณค่าทางโภชนาการของดอกพะยอมในส่วนที่กินได้ต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต 7.2 กรัม, โปรตีน 4.4 กรัม, ไขมัน 1.1 กรัม, เส้นใย 2.8 กรัม, ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม, และธาตุแคลเซียม 46 มิลลิกรัม
ไม้พะยอม มีสีเหลืองอ่อนถึงสีน้ำตาล สามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างทั่ว ๆไปได้ เช่น การทำเสาบ้าน ขื่อ รอด ตง พื้น ทำฝา เรือขุด เครื่องบนเสากระโดงเรือ แจว พาย กรรเชียง คราด ครก สาก ลูกหีบ กระเดื่อง ตัวถังรถ ซี่ล่อเกวียน กระเบื้องไม้ นำไปใช้ทำหมอนรถไฟ และนำมาใช้แทนไม้ตะเคียนทองเพราะมีลักษณะคล้าย ๆ กัน เป็นต้น
ประโยชน์ของพะยอม เปลือกต้นสามารถใช้รับประทานกับใบพลูแทนหมากได้
เปลือกต้นและเนื้อไม้นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในกระบอกไม้ไผ่ ไว้ใช้รองน้ำตาลสดจากต้นมะพร้าวและน้ำตาลจากต้นตาลโตนด
เปลือกต้นหรือไม้ชิ้นเล็ก ๆ นำมาใช้ใส่เครื่องหมักดองเพื่อกันบูดกันเสียได้
ชันที่ได้จากต้นพะยอมสามารถใช้ผสมกับน้ำมันทาไม้ ยาแนวเรือได้
เปลือกต้นมีสารแทนนินชนิด Pyrogallol และ Catechol ในปริมาณสูง จึงนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง
พะยอมเป็นต้นไม้ที่สามารถปลูกได้ดีในที่แล้ง ซึ่งอาจปลูกไว้เพื่อความสวยงามให้ร่มเงาตามบ้านเรือนก็ได้ และดอกยังมีความสวยงามมาก แต่จะออกดอกปีละครั้ง และออกดอกพร้อมกันทั้งต้นดูสวยงามมาก
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดที่ปลูกต้นพะยอมไว้ประจำบ้าน จะช่วยทำให้คนในบ้านมีนิสัยที่อ่อนน้อม เพราะคำว่าพะยอมมีความหมายว่า การยินยอม ตกลง ผ่อนผัน หรือประนีประนอมนั่นเอง และยังเชื่อว่าจะช่วยทำให้ไม่ขัดสนในเรื่องต่าง ๆ รวมไปถึงเรื่องเงินทองด้วย เพราะจะทำให้ผู้คนต่างให้ความเห็นใจนั่นเอง โดยการปลูกเพื่อเอาคุณนั้นให้ปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและควรปลูกในวันเสาร์
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), เว็บไซต์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม), เว็บไซต์หมอชาวบ้าน (เดชา ศิริภัทร)
ภาพประกอบ : เว็บไซต์ magnoliathailand.com (by สมศักดิ์), www.siamensis.org (by สมศักดิ์), www.the-than.com, www.treeofthai.com
พะยอม ชื่อสามัญ Shorea, White meranti
พะยอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G.Don (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Shorea talura Roxb.) จัดอยู่ในวงศ์ยางนา (DIPTEROCARPACEAE)
สมุนไพรพะยอม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แดน (เลย), ยางหยวก (น่าน), กะยอม เชียง เซียว เซี่ย (เชียงใหม่), พะยอมทอง (ปราจีนบุรี สุราษฎร์ธานี), ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ), สุกรม (ภาคกลาง), คะยอม ขะยอม (อีสาน), ยอม (ภาคใต้), ขะยอม (ลาว), พะยอมแดง แคน พยอม เป็นต้น
ลักษณะของต้นพะยอม
ต้นพะยอม (ต้นพยอม) มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและเอเชีย เช่น ประเทศพม่า ลาว ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ มีความสูงประมาณ 15-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นอาจยาวถึง 300 เซนติเมตร เปลือกต้นมีสีน้ำตาลหรือสีเทาเข้ม แตกเป็นร่องตามยาวและเป็นสะเก็ดหนา ส่วนเนื้อไม้มีสีเหลืองถึงสีน้ำตาล ลักษณะของต้นเป็นทรงพุ่มกลมสวยงามมาก แตกกิ่งก้านจำนวนมาก ถ้าหากปลูกในที่โล่งแจ้งและไม่มีพรรณไม้ใหญ่ชนิดอื่นอยู่ใกล้ ๆ เป็นต้นไม้ที่สวยโดยธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องทำการตัดแต่งกิ่งแต่อย่างใด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง ซึ่งในปัจจุบันพันธุ์ไม้ชนิดนี้กำลังเริ่มลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ โดยสามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณแล้งและชื้น หรือป่าดิบแล้งทั่วไป ทุกภาคของประเทศที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 60-1,200 เมตร และดอกพะยอมยังเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ด้วย
ต้นพะยอม
ต้นพยอม
พยอม
ใบพะยอม ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน โคนใบสอบมน ปลายใบแหลม ขอบเรียบเป็นคลื่น ด้านหลังใบจะมีเส้นใบมองเห็นชัดเจน ใบมีความยาวประมาณ 12-18 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร
ใบพยอม
ดอกพะยอม (ดอกพยอม) ออกดอกเป็นช่อใหญ่ ออกดอกตามส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม ดอกมีกลีบ 3 กลีบ กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร โคนกลีบดอกติดกับก้านดอก มีลักษณะกลม ออกดอกพร้อมกันเกือบทั้งต้น โดยจะออกดอกในช่วยเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ดอกพยอม
ดอกพะยอม
ผลพะยอม ผลแห้งมีปีกแบบ Samara ลักษณะเป็นทรงไข่และกระสวย ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ซ่อนตัวอยู่ในกระพุ้ง โคนปีกมี 5 ปีก ประกอบด้วยปีกยาวรูปขอบขนาน 3 ปีก ยาวประมาณ 8 เซนติเมตร มีเส้นตามยาวของปีกประมาณ 10 เส้น และปีกสั้นมี 2 ปีก มีความยาวไม่เกิน 3 เซนติเมตร ในผลมีเมล็ดหนึ่งเมล็ด ออกผลในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม
ผลพะยอม
สรรพคุณของพะยอม
พยอม สรรพคุณของดอกช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)
สรรพคุณสมุนไพรพยอม ดอกใช้ผสมเป็นยาแก้ไข้ (ดอก)
ดอกใช้ทำเป็นยาหอมไว้แก้ลม (ดอก)
สรรพคุณต้นพยอมช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน (เปลือกต้น)
เปลือกต้นใช้กินแทนหมาก ช่วยแก้ลำไส้อักเสบได้ (เปลือกต้น)
เปลือกต้นมีสีสาร Tannin มาก สามารถใช้เป็นยาฝาดสมานแผลในลำไส้ได้ (เปลือกต้น)
สรรพคุณพยอมช่วยสมานบาดแผล ชำระบาดแผล ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาฝนแล้วทาบริเวณบาดแผล
ประโยชน์ของพะยอม
ดอกอ่อนสามารถนำมารับประทานสดได้ หรือจะนำมาลวกเป็นผักไว้จิ้มกินกับน้ำพริก ใช้ผัดกับไข่ ชุบไข่ทอด หรือจะนำมารับประทานเป็นน้ำซุปร้อน ๆ โดยนำมาแกงส้มก็ได้เช่นกัน โดยคุณค่าทางโภชนาการของดอกพะยอมในส่วนที่กินได้ต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต 7.2 กรัม, โปรตีน 4.4 กรัม, ไขมัน 1.1 กรัม, เส้นใย 2.8 กรัม, ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม, และธาตุแคลเซียม 46 มิลลิกรัม
ไม้พะยอม มีสีเหลืองอ่อนถึงสีน้ำตาล สามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างทั่ว ๆไปได้ เช่น การทำเสาบ้าน ขื่อ รอด ตง พื้น ทำฝา เรือขุด เครื่องบนเสากระโดงเรือ แจว พาย กรรเชียง คราด ครก สาก ลูกหีบ กระเดื่อง ตัวถังรถ ซี่ล่อเกวียน กระเบื้องไม้ นำไปใช้ทำหมอนรถไฟ และนำมาใช้แทนไม้ตะเคียนทองเพราะมีลักษณะคล้าย ๆ กัน เป็นต้น
ประโยชน์ของพะยอม เปลือกต้นสามารถใช้รับประทานกับใบพลูแทนหมากได้
เปลือกต้นและเนื้อไม้นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในกระบอกไม้ไผ่ ไว้ใช้รองน้ำตาลสดจากต้นมะพร้าวและน้ำตาลจากต้นตาลโตนด
เปลือกต้นหรือไม้ชิ้นเล็ก ๆ นำมาใช้ใส่เครื่องหมักดองเพื่อกันบูดกันเสียได้
ชันที่ได้จากต้นพะยอมสามารถใช้ผสมกับน้ำมันทาไม้ ยาแนวเรือได้
เปลือกต้นมีสารแทนนินชนิด Pyrogallol และ Catechol ในปริมาณสูง จึงนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง
พะยอมเป็นต้นไม้ที่สามารถปลูกได้ดีในที่แล้ง ซึ่งอาจปลูกไว้เพื่อความสวยงามให้ร่มเงาตามบ้านเรือนก็ได้ และดอกยังมีความสวยงามมาก แต่จะออกดอกปีละครั้ง และออกดอกพร้อมกันทั้งต้นดูสวยงามมาก
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดที่ปลูกต้นพะยอมไว้ประจำบ้าน จะช่วยทำให้คนในบ้านมีนิสัยที่อ่อนน้อม เพราะคำว่าพะยอมมีความหมายว่า การยินยอม ตกลง ผ่อนผัน หรือประนีประนอมนั่นเอง และยังเชื่อว่าจะช่วยทำให้ไม่ขัดสนในเรื่องต่าง ๆ รวมไปถึงเรื่องเงินทองด้วย เพราะจะทำให้ผู้คนต่างให้ความเห็นใจนั่นเอง โดยการปลูกเพื่อเอาคุณนั้นให้ปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและควรปลูกในวันเสาร์
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), เว็บไซต์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม), เว็บไซต์หมอชาวบ้าน (เดชา ศิริภัทร)
ภาพประกอบ : เว็บไซต์ magnoliathailand.com (by สมศักดิ์), www.siamensis.org (by สมศักดิ์), www.the-than.com, www.treeofthai.com
วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2561
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)